วันศุกร์ที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2553

ใบงานที่ 12 การใช้งานโปรแกรม SPSS for Window

ส่วนประกอบหลักของ SPSS FOR WINDOWS
Ø Title Bar บอกชื่อไฟล์
Ø Menu Bar คำสั่งการทำงาน
Ø Cell Editor กำหนดค่าตัวแปร
Ø Cases ชุดของตัวแปร
Ø Variable กำหนดชื่อตัวแปร
Ø View Bar มีสองส่วน

1. Variable View สร้างและแก้ไขโครงสร้างตัวแปร
2. Data View เพิ่มและแก้ไขตัวแปร
Ø Status Bar แสดงสถานการณ์ทำงาน


การเปิด SPSS Data Editor
ไปที่ File -> New -> Data แล้วกำหนดชื่อและรายละเอียดจากหน้าจอ Variable View ป้อนข้อมูล Data View บันทึกข้อมูล File -> Save

การกำหนดชื่อและรายละเอียดตัวแปร
ที่หน้าจอ SPSS Data Editor เรียกหน้าจอ Variable View ทำได้ 2 วิธี
1. ดับเบิลคลิกตรงคอลัมน์ของบรรทัดแรก
2. คลิกแถบ Variable View ที่อยู่ด้านล่าง

เมื่อได้หน้าต่างของ Variable View
1. Name ชื่อตัวแปร ให้พิมพ์ตรงคอลัมน์ Name เช่น Sex
2. Type ประเภทของตัวแปร เลือก Numeric Width=1 Decimal Places=0 คลิกปุ่ม OK
3. Label กำหนดข้อความขยายชื่อตัวแปร เพื่ออธิบายชื่อตัวแปรและแสดงออกทางผลลัพธ์ ให้พิมพ์ตรงคอลัมน์ Label เช่น เพศ
4. Values กำหนดคำอธิบายให้กับค่าตัวแปร
5. Missing กำหนดค่าที่ไม่นำไปวิเคราะห์ มี 2 แบบ
5.1 User Missing ผู้วิจัยเป็นผู้กำหนด เช่น 9, 99, 999, …
5.2 System Missing โปรแกรมจะกำหนดให้เอง

6. Column จำนวนความกว้างของคอลัมน์ คือจำนวนความกว้างมากสุดของ ค่าตัวแปร หรือ ชื่อตัวแปร หรือ label ตัวแปร .จากตัวอย่าง ชื่อตัวแปร และ label ตัวแปร มีความกว้างมากสุดเท่ากับ 3 ให้พิมพ์ 4 (ความกว้างมากสุดเท่ากับ 3 บวกเผื่อไว้ 1)
7. Align ให้แสดงค่าตัวแปร ชิดซ้าย กึ่งกลาง ชิดขวา
8. Measure ระดับการวัดของข้อมูล
8.1 Scale (Interval, Ratio)
8.2 Ordinal
8.3 Nominal
ให้กำหนดชื่อและรายละเอียดของตัวแปรให้ครบทุกตัว


การวิเคราะห์ข้อมูล
1. คลิกที่เมนู Analyze เลือก Descriptive Statistic และเลือก Frequencies
2. จากนั้นเราจะได้กรอบ Frequencies กรอบ Frequencies ทางช่องซ้ายมือเป็นตัวแปรต่างๆ ที่ได้จากแบบสอบถาม ทางช่องขวามือจะเป็นส่วนเลือกตัวแปรเพื่อวิเคราะห์ข้อมูล
3. เราจะเลือกตัวแปรโดยการคลิกที่ตัวแปรที่ต้องการวิเคราะห์ทางซ้ายมือ จากนั้นคลิกปุ่มเลือก(สามเหลี่ยมสีดำ)ตัวแปรที่ต้องการวิเคราะห์ก็จะตกไปอยู่ทางช่องขวามือ ในที่นี้ให้เลือกทั้งหมดทุกตัวแปร
4. คลิกปุ่ม Statistics แล้วจะได้กรอบ Frequencies Statistics
5. เลือกประเภทการวิเคราะห์ข้อมูล ในที่นี้เราจะวิเคราะห์ Central Tendency และ Dispersion โดยส่วน Central Tendency เลือก Mean, Median, Mode, Sum และส่วน Dispersion เลือก Std. deviation, Minimum, Maximum เลือกเสร็จเรียบร้อยแล้วให้คลิกปุ่ม Continue เมื่อคลิกปุ่ม Continue จะกลับมาที่กรอบ Frequencies Statistics
6. ต่อไปให้คลิกปุ่ม Charts จะได้กรอบ Frequencies Charts ในส่วน Frequencies Charts นี้ท่านสามารถเลือก Chart Type ว่าต้องการเป็น Charts ชนิดใด ในที่นี้ให้เลือก Bar charts แล้วคลิก Continue
7. เมื่อคลิกปุ่ม Continue จะกลับมาที่กรอบ Frequencies Statistics ดังภาพ จากนั้นคลิกปุ่ม OK ก็เป็นอันเสร็จสิ้นขั้นตอนการวิเคราะห์ข้อมูล

ใบงานที่ 11 ความคิดเห็นต่ออาจารย์ผู้สอน

...ได้รับความรู้ใหม่ ๆ เกี่ยวกับเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ โดยเฉพาะการใช้อินเทอร์เนตเป็นเครื่องมือในการศึกษาหาความรู้ อาจารย์อภิชาติมีความเป็นกันเองและจัดการเรียนรู้โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ให้นักศึกษาได้รู้จักการศึกษาหาความรู้ด้วยตนเอง และลงมือปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอ ขอขอบพระคุณอาจารย์ที่ได้นำสิ่งใหม่ๆ ดีๆ มาให้นักศึกษาได้เรียนรู้...

ใบงานที่ 9 ลักษณะของผู้บริหารมืออาชีพ

1. เป็นผู้มีจิตวิญญาณนักบริหารมีจิตวิญญาณนักบริหาร คือ อุทิศตนเพื่อหน้าที่ ดำเนินชีวิตและทำงานบนพื้นฐานของเหตุผล มีความเป็นปัญญาชน และประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดี

2. มีคุณลักษณะของผู้บริหารมืออาชีพคุณลักษณะของผู้บริหารมืออาชีพ ได้แก่ มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ในการทำงาน บุคลิกน่าเชื่อถือ มีความเป็นผู้นำ กล้าตัดสินใจ รู้จักตนเองและพัฒนาตนเองอยู่เสมอ มีองค์ความรู้ ความสามารถ ความชำนาญในการบริหาร และสามารอดทน ยืดหยุ่นต่อสถานการณ์ได้อย่างเหมาะสม

3. มีค่านิยมที่พึงประสงค์ค่านิยมของผู้บริหารที่พึงประสงค์ ได้แก่ การพึ่งตนเอง ประหยัดอดออม มีระเบียบวินัย เคารพกฎหมาย ปฏิบัติตามคุณธรรมศาสนาและรักชาติ ศาสน์ กษัตริย์

4. เป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง
4.1 กล้าที่จะเปลี่ยนแปลงให้เกิดสิ่งใหม่ที่ดีกว่าในองค์กรของตน
4.2 มีความรู้ลึกและรู้รอบ มีความคิดรวบยอดในงานบริหารที่ตนรับผิดชอบและรอบรู้ข่าวสาร ความเปลี่ยนแปลงทางด้านการบริหารและการศึกษาอยู่ตลอดเวลา
4.3 มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ทำสิ่งแรก สิ่งแปลก สิ่งใหม่ในทางที่ดี นำองค์กรไปสู่ความสำเร็จ

5. มีจิตสำนึกเพื่อส่วนรวมมีจิตสำนึกเพื่อส่วนรวม โดยคิดถึงประโยชน์ของส่วนรวมมากกว่าผลประโยชน์ส่วนตัว ยอมเสียสละประโยชน์ส่วนตนเพื่อผลประโยชน์ของคนส่วนใหญ่

ใบงานที่ 8 ศึกษา Web วัดผลดอทคอม

1. ความหมายของสถิติสถิติ หมายถึง ศาสตร์หรือวิชาที่ว่าด้วย การเก็บรวบรวมข้อมูล การนำเสนอข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล และการนำผลการวิเคราะห์ข้อมูลมาสรุป
2. ค่าเฉลี่ย ค่ามัธยฐาน ฐานนิยม ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
2.1 ค่าเฉลี่ย (Mean) หรือเรียกว่าค่ากลางเลขคณิต ค่าเฉลี่ย ค่ามัชฌิมเลขคณิต เป็นต้น ความหมายเป็นสถิติเชิงพรรณนา/บรรยาย
2.2 มัธยฐาน (Median) คือ คะแนนที่อยู่ตรงกลางที่แบ่งคะแนนออกเป็นสองกลุ่มเท่า ๆ กัน ทำโดยนำคะแนนที่ได้มาเรียงตามลำดับจากมากไปน้อยหรือจากน้อยไปหามาก มักเขียนแทนด้วย Mdn เป็นสถิติเชิงพรรณนา/บรรยาย
2.3 ฐานนิยม (Mode) คือ ค่าที่ซ้ำกันมากที่สุดหรือที่มีความถี่มากที่สุด เป็นสถิติเชิงพรรณนา/บรรยาย
2.4 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) เป็นการวัดการกระจายที่นิยมใช้กันมากเขียนแทนด้วย S.D. หรือ S เป็นสถิติเชิงพรรณนา/บรรยาย3
3. ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
3.1 ประชากร (Population) หมายถึง หน่วยทุกหน่วย (ซึ่งอาจมีชีวิตหรือไม่มีชีวิตก็ได้) ที่เรา สนใจเช่น จำนวนคนไทยที่เป็นเพศชาย ประชากรคือคนไทยทุกคนที่เป็นเพศชาย จำนวนรถยนต์ในจังหวัดพิษณุโลก ประชากรคือ รถยนต์ทุกคันที่อยู่ในจังหวัดพิษณุโลก ฯลฯ
3.2 กลุ่มตัวอย่าง (Sample) หมายถึง หน่วยย่อยของประชากรที่เราสนใจ เช่น จำนวนรถยนต์ที่วิ่งในจังหวัดพิษณุโลกซึ่งไม่สามารถจัดเก็บได้ทัน จึงต้องใช้ตัวอย่างซึ่งตัวอย่างจะต้องเป็น รถยนต์ที่กำลังวิ่งอยู่ในจังหวัดพิษณุโลก ฯลฯ
4. ตัวแปรต้น ตัวแปรตาม
4.1 ตัวแปรต้น หรือตัวแปรอิสระ (Independent Variable) เป็นตัวแปรที่เป็นสาเหตุที่ก่อให้เกิดผล หรือก่อให้เกิดการแปรผันของปรากฏการณ์ เป็นตัวแปรที่ผู้วิจัยกำหนดหรือจัดกระทำได้ เพื่อศึกษาผลที่เกิดขึ้นจากตัวแปรนี้
4.2 ตัวแปรตาม (Dependent Variable) เป็นตัวแปรที่เป็นผลมากจากการเปลี่ยนแปลงค่าของตัวแปรอิสระ เป็นตัวแปรที่ผู้วิจัยมุ่งวัดเพื่อเป็นข้อมูลสำหรับนำมาวิเคราะห ์เพื่อตอบคำถามของการวิจัยว่าเป็นผลมากจากสิ่งใด
5. สมมุติฐานสมมุติฐาน หมายถึง ข้อความที่ผู้วิจัยคาดหวังหรือคิดเกี่ยวกับความแตกต่างที่อาจจะเป็นไปได้ระหว่างตัวแปรต่าง ๆ หรือความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรต่าง ๆ ก่อนการเก็บรวบรวมข้อมูล เพื่ออธิบายปรากฏการณ์ สมมุติฐานมีอยู่ 2 ประเภทคือ
5.1 สมมุติฐานการวิจัย (Research Hypothesis or Descriptive Hypothesis) เป็นข้อความที่เขียนในลักษณะบรรยาย หรือคาดคะเนคำตอบของการวิจัย ซึ่งข้อความดังกล่าวจะแสดงถึงความเกี่ยวข้องกันของตัวแปรในรูปของความสัมพันธ์ หรือในรูปของความแตกต่างที่ได้คาดคะเนไว้ เช่น การสอนซ่อมเสริมโดยการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน จะทำให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาเคมี ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 สูงกว่าการสอนซ่อมเสริมด้วยวิธีปกติ
5.2 สมมุติฐานทางสถิติ (Satirical Hypothesis) เป็นสมมุติฐานที่แปลงรูปจากสมมุติฐานการวิจัยมาอยู่ในรูปแบบทางคณิตศาสตร์ โดยมีการแทนค่าด้วยสัญลักษณ์ต่าง ๆ ซึ่งจะเกิดขึ้น ในกรณีที่ผู้วิจัยรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างและจะอ้างอิงไปสู่กลุ่มประชากร โดยการทดสอบสมมุติฐาน

ใบงานที่ 7 การตกแต่ง Webblog

1. การใส่ปฏิทิน
2. การใส่นาฬิกา
3. การทำสไสด์
4. การปรับแต่งสีใน Webboard
5. การใส่เพลงลงใน Webboard
โดยสามารถสรุปแต่ละประเด็นย่อ ๆ ดังนี้
การใส่ ตกแต่งบล๊อก ด้วยปฏิทิน นาฬิกา สไลด์รูปต่างๆ เปลี่ยนสีในรูปแบบ และเพลงนั้น จำเป็นจะต้องใช้โค้ด(ภาษา HTML) ซึ่งเป็นโค้ดที่ต้องเพิ่มใน Gadget ซึ่งเมนูการเพิ่มจะอยู่ที่แผงควบคุม ---> รูปแบบ ---> เพิ่ม Gadget ---> เพิ่มจาวา/HTML ---> วางโค้ดของปฎิทิน/นาฬิกา/เพลงที่เราได้คัดลอกมาจากโค้ดที่เราค้นหาโดยใช้ Google ---> แล้วสั่งบันทึก ซึ่งจะกลับมาที่หน้ารูปแบบ--->สั่งบันทึกอีกครั้ง--->จะขึ้นข้อความว่าได้"ได้บันทึกการเปลี่ยนแปลงแล้ว ดูบล๊อก" ---> ซึ่งสามารถดูบล๊อกได้ว่าเป็นไปตามที่ต้องการหรือไม่สำหรับการค้นหาโค้ด โดยใช้ Google นั้น เมื่อเข้าเว็บ Google แล้วใช้คำค้นหา เช่น โค้ดเพลง/โค้ดปฏิทินแต่งบล๊อก/โค้ดนาฬิกา / โค้ดแต่งบล๊อก /หรือระบุเพลงที่ต้องการ เช่น โค้ดเพลงอวยพรวันเกิด/โค้ดเพลงร๊อก/โค้ดเพลง(ชื่อเพลง)เมื่อได้หน้าเว็บGoogle ที่ขึ้นผลการค้นหาแล้ว เลือกเปิดลิงค์ต่าง ๆ ก็จะได้หน้าเว็บ เช่น บางเว็บอาจต้องดาวน์โหลดโค้ด บางเว็บก็ copy โค้ดได้เลยเมื่อได้โค้ดแล้ว select code แล้วนำไปวางใน Gadget ที่ได้สั่งเพิ่ม HTML/จาวาสคริปต์

ใบงานที่ 6 ประโยชน์ของ Google

สามารถแบ่งออกเป็นกลุ่มได้ 3 กลุ่ม โดยแบ่งออกตามความสามารถในการทำงานในด้านต่างๆ ดังนี้

1. บริการในกลุ่มดัชนีค้นหา (Search Engines) Google Web Search Features ประกอบด้วยบริการค้นหาต่อไปนี้
1.1 Book Search :· บริการค้นหาหนังสือแบบออนไลน์ ซึ่งเป็นบริการใหม่ของ Google ที่เพิ่งเปิดให้บริการกับแฟนหนังสือโดยเฉพาะ
1.2 Cached Links· :บริการช่วยจับประเด็นหรือหัวเรื่องสำคัญของเว็บไซต์ที่คุณต้องการจะค้นหา
1.3 Calculator : เครื่องคำนวณทางคณิตศาสตร์ที่คุณสามารถตั้งตัวเลข โดยคีย์ลงในช่องค้นหาของ Google แล้วคลิ้กหาคำตอบที่ต้องการได้เลย
1.4 Currency Conversion : บริการแปลงหน่วยมาตราเงินสำหรับระบบแลกเปลี่ยนเงินตรา
1.5 Definitions : หมวดคำศัพท์ที่คุณสามารถค้นหาความหมายของคำศัพท์ที่ต้องการได้ง่ายดาย
1.6 File Types : ดัชนีค้นหาสินค้าออนไลน์ทั่วทุกมุมโลก
1.7 Groups :· ถ้าหากว่าคุณอยากรู้ข้อมูลข่าวสารที่มีคนโพสต์กันบนเว็บไซต์ สามารถค้นหาได้จากบริการนี้
1.8 I ‘m Feeling Lucky :· ปุ่มบริการดัชนีค้นหาที่ช่วยให้ค้นหาเว็บไซต์ได้อย่างรวดเร็ว และตรงประเด็น โดยข้ามลิงก์ของเว็บไซต์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องให้ถูกตัดออกไป
1.9 Images :· ระบบดัชนีค้นหารูปภาพที่คลิกได้ง่าย และเร็วทันใจ
1.10 Local Search :· บริการค้นหาธุรกิจและบริการต่าง ๆ ที่เปิดในสหรัฐ อังกฤษ และแคนาดา

1.11 Movie : คุณสามารถเข้าไปดูรีวิวภาพยนตร์หรือว่าตารางโปรแกรมฉายแบบเรียลไทม์ได้จากฟีเจอร์นี้
1.12 Music Search : ดัชนีค้นหาเพลงหรือว่าดนตรีที่มีให้บริการฟังเพลงออนไลน์ หรือว่าดาวน์โหลดเพลงจากทั่วโลก
1.13 News Headlines :· บริการที่ทำให้คุณสารารถรู้ข้อมูลข่าวสารทันในที่ส่งมาจากรอบโลกแบบเรียลไทม์
1.15 PhoneBook : บริการค้นหาเบอร์โทรศัพท์และเลขที่บนท้องถนนของสหรัฐอเมริกา
1.16 Q·&A : บริการใหม่ที่คุณอยากรู้อะไรเกี่ยวกับ Google บริการนี้ตอบปัญหาให้คุณได้ทุกเรื่อง
1.17 Similar Pages :· บริการแสดงหน้าเว็บเพจที่แสดงผลในหน้าเว็บที่เกี่ยวข้อง
1.18 Site Search :· กำหนดขอบเขตของการค้นหาเว็บไซต์ให้แคบลง
1.19 Spell Checker :· เครื่องมือช่วยในการสะกดคำ
1.20 Stock Quotes :· ดัชนีค้นหาสำหรับราคาหุ้นแบบเรียลไทม์
1.21 Travel Information :· บริการตรวจสอบสายการบินในสหรัฐ รวมถึงรายงานสภาพอากาศของสนามบิน
1.22 · Weather : บริการตรวจสอบสภาพอากาศและการพยากรณ์อากาศในทุกรัฐของสหรัฐ
1.23 Web Page Translation : บริการแปลหน้าเอกสารภาษาอังกฤษเป็นภาษาอื่น ๆ

2. บริการในกลุ่ม Google Services Alerts :
2.1 Answer :·บริการแจ้งเตือนข่าวสารและผลการค้นหาผ่านอีเมล์แบบออนไลน์ บริการตอบคำถามให้กับคุณได้ทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ โดยนักวิจัยชื่อดังกว่า 500 คน
2.2 Blog Search : บริการค้นหาหัวข้อเรื่องที่เป็น Blog
2.3 Catalogs :·ในประเด็นที่คุณสนใจ บริการค้นหารายการสินค้าที่คุณสนใจและต้องการจะสั่งซื้อผ่านระบบออนไลน์
2.4 Directory : บริการค้นหาสาระสำคัญต่าง ๆ ที่อยู่บนเว็บไซต์
2.5 Labs :· บริการใหม่ ๆ ของ Google ที่คุณสามารถเข้าไปทดสอบใช้งานได้ฟรี ก่อนที่จะออกมาเป็นชุดเต็มของโปรแกรม
2.6 Mobile : บริการหลักของ Google· ที่สามารถนำไปใช้ได้กับเครื่องโทรศัพท์มือถือ เช่น บริการดัชนีค้นหาเอกสาร รูปภาพ หรือส่ง SMS
2.7 News : บริการรายงานข้อมูลข่าวสารใหม่ ๆ· จากทั่วทุกมุมโลกที่มีให้คุณได้อ่านก่อนใคร
2.8 Scholar :· บริการค้นหาเอกสารงานวิจัยใหม่ ๆ รวมทั้งบทคัดย่อจากห้องสมุดใหญ่ ๆ มากมาย
2.9 Special Searches : บริการค้นหาประเด็นสาธารณะในส่วนที่เป็นองค์กร หรือว่าสถาบันที่ไม่หวังผลกำไรต่างๆ รวมถึงบริการค้นหาเว็บไซต์ของสถานศึกษาต่าง ๆ ที่มีรายละเอียดในเรื่องของหลักสูตรการสอนและระเบียบวิธีการเข้าศึกษาต่อทั้งในระดับโรงเรียนและมหาวิทยาลัย
2.10 Video : บริการค้นหารายการทีวีทางโทรทัศน์ เกมโชว์ มิวสิควิดีโอ ที่คุณสามารถเช่าชั่วโมงมาดูกันแบบออนไลน์ผ่านหน้าจอคอมพิวเตอร์ของคุณ

3. บริการในกลุ่ม Google Tools
3.1 Blogger :· เว็บไซต์ที่มีเครื่องมือสำหรับสร้าง Blogger ของคุณเอง
3.2 Code :· เครื่องมือสำหรับดาวน์โหลด APls และ Source code Desktop :· เครื่องมือสำหรับช่วยค้นหาไฟล์และข้อมูลต่าง ๆ ที่อยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์
3.3 Earth : เครื่องมือที่ทำให้คุณสามารถค้นหาแผนที่โลกจากดาวเทียม
3.4 Gmail : บริการอีเมล์รุ่นทดสอบของ Google ที่มีความจุกว่า 2.6 กิกะไบต์
3.5 Pack : ชุดเครื่องมือรวมฮิตของ Google รวมถึงบราวเซอร์สุดเก่ง
3.6 Firetox Picasa : เครื่องมือสำหรับการบริหารและจัดการรูปภาพทั้งหมดที่มีอยู่ในคอมพิวเตอร์
3.7 Local for Mobile : เครื่องมือสำหรับค้นหาแผนที่ของสถานที่ต่าง ๆ บนโทรศัพท์มือถือ
3.8 Talk : เครื่องมือที่ทำให้คุณสามารถพูดคุย ส่งอีเมล์· กับเพื่อนของคุณแบบเรียลไทม์ออนไลน์
3.9 Toobar : กล่องเครื่องมือที่ทำให้เว็บไซต์ของคุณสามารถเข้าไปค้นหาข้อมูลได้โดยตรง โดยไม่ต้องเข้าไปที่เว็บไซต์ของ Google
3.10 Translate :· เครื่องมือที่ทำให้คุณสามารถดูเว็บไซต์ได้หลาย ๆ ภาษา
3.11 Labs :· กลุ่มของชุดเครื่องมือใหม่ ๆ ของ Google ที่คุณสามารถเข้าไปทดลองดาวน์โหลดได้ฟรี

ใบงนที่ 4 การจัดการความรู้

ความรู้คืออะไร
1. Knowledge Capital เป็นต้นทุน องค์กร ทรัพยากรมนุษย์
2. ความสามารถในการทำให้สารสนเทศ และข้อมูลมาเป็นการกระทำที่มีประสิทธิภาพได้
3. ส่วนผสมของกรอบประสบการณ์ คุณค่า สารสนเทศ และความเชี่ยวชาญข้อมูล สารสนเทศ ความรู้ ความเฉลียวฉลาด และเชาว์ปัญญาข้อมูล ข้อมูลดิบที่ยังไม่ได้ผ่านกระบวนการประมวลผล กลุ่มของข้อมูลดิบที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติงานสารสนเทศ ข้อมูลที่ผ่านกระบวนการประมวลผลแล้ว ผลรวมของข้อมูลที่มี ความหมายความรู้ ผลจากการขัดเกลาและเลือกใช้สารสนเทศโดยมีการจัดระบบความคิด เกิดเป็นความรู้ และความเชี่ยวชาญความเฉลียวฉลาด การนำเอาความรู้ต่างๆ มาบูรณาการเข้าด้วยกันเพื่อใช้ให้เกิดประโยชน์ ต่อทำงานในสาขาต่างๆเชาว์ปัญญา ผลจากการปรับแต่งและจดจำความเฉลียวฉลาดต่างๆ ซึ่งก่อให้เกิดความคิดที่ฉับไวรูปแบบของความรู้ประเภทของความรู้กับการจัดการรู้

ความรู้อาจแบ่งได้ออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ
ความรู้เด่นชัด (Explicit Knowledge) คือ ความรู้ที่อยู่ในรูปแบบที่เป็นเอกสาร หรือ วิชาการ อยู่ในตำรา การจัดการจะเน้นการเข้าถึงแหล่งความรู้ ตรวจสอบและตีความได้ เมื่อนำไปใช้จะเกิดความรู้ใหม่ เพื่อให้ผู้อื่นใช้อ้างอิงต่อไป
ความรู้ซ่อนเร้น (Tacit Knowledge) เป็นความรู้แฝงอยู่ในตัวคน เป็นประสบการณ์ที่สั่งสม มายาวนาน เป็นภูมิปัญญา การจัดการความรู้แบบนี้ จะเน้นที่การจัดเวทีเพื่อให้มีการแบ่งปันความรู้ที่มีอยู่ เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ร่วมกัน อันนำไปสู่ความรู้ใหม่ที่จะนำไปใช้งานต่อไปซึ่งในสภาพความเป็นจริง ความรู้ทั้ง 2 ประเภทเหล่านี้ มีการสับเปลี่ยนสภาพกันตลอดเวลา การจัดการความรู้ จึงต้องมีการเปลี่ยนแปลงไปตามสภาพความรู้ เช่น

การจัดการความรู้เป็นเครื่องมือในการแปลงยุทธศาสตร์ไปสู่การปฏิบัติ การรวบรวมองค์ความรู้ที่มีอยู่ในองค์กรซึ่งกระจัดกระจายอยู่ในตัวบุคคลหรือเอกสาร มาพัฒนาให้เป็นระบบ เพื่อให้ทุกคนในองค์กรสามารถเข้าถึงความรู้ และพัฒนาตนเองให้เป็นผู้รู้ รวมทั้งปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ อันจะส่งผลให้องค์กรมีความสามารถในเชิงแข่งขันสูงสุด โดยที่ความรู้มี 2 ประเภท คือ

1. ความรู้ที่ฝังอยู่ในคน (Tacit Knowledge)เป็นความรู้ที่ได้จากประสบการณ์ พรสวรรค์หรือสัญชาตญาณของแต่ละบุคคลในการทำความเข้าใจในสิ่งต่างๆ เป็นความรู้ที่ไม่สามารถถ่ายทอดออกมาเป็นคำพูดหรือลายลักษณ์อักษรได้โดยง่าย เช่น ทักษะในการทำงาน งานฝีมือ หรือการคิดเชิงวิเคราะห์ บางครั้ง จึงเรียกว่าเป็นความรู้แบบนามธรรม

2.ความรู้ที่ชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) เป็นความรู้ที่สามารถรวบรวม ถ่ายทอดได้ โดยผ่านวิธีต่างๆ เช่น การบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร ทฤษฎี คู่มือต่างๆ และบางครั้งเรียกว่าเป็นความรู้แบบรูปธรรมบทบาทใหม่ของการบริหารทุนมนุษย์ การบริหารทุนมนุษย์ (Human Capital Management) ต่างจากการบริหารทรัพยากรบุคคล ตรงที่เน้นความสำคัญของคุณค่าหรือมูลค่าของคนและสิ่งที่คนในองค์กรผลิตหรือสร้างขึ้นมา แต่ไม่ได้เน้นหน้าที่ด้านการบริหารงานบุคคล ดังนั้น การบริหารทุนมนุษย์จึงเกี่ยวข้องกับการประเมินผลกระทบของกระบวนวิธีการบริหารทรัพยากรบุคคล (Impact of People Management Practice) และความทุ่มเทพยายามของคนต่อความสำเร็จขององค์กร มืออาชีพหลายคนอาจจะเข้าใจผิดว่าการบริหารทรัพยากรบุคคลหมดความสำคัญ และอาจจะไม่จำเป็นต้องทำไป แต่อย่างไรหน้าที่ด้านการบริหารทรัพยากรบุคคลก็ยังคงอยู่ต่อไป แต่ต้องทำอย่างมืออาชีพมากยิ่งขึ้น และต้องมีการปรับบทบาทการบริหารทรัพยากรบุคคลเสียใหม่ให้เหมาะสมและสอดคล้องกับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไป

การนำเอาความรู้ต่างๆมาบูรณาการเพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อการทำงานในสาขาวิชาต่างๆเชาว์ปัญญา (Intelligent) ผลการปรับแต่งและความจดจำความเฉลียวฉลาดต่างๆ ซึ่งก่อให้เกิดความคิดที่ฉับไวรูปแบบการจัดการความรู้ ความรู้แบ่งได้เป็น 2 ประเภทคือ
- ความรู้ที่ฝังอยู่ในคน (Tacit Knowledge)เป็นความรู้ที่ได้จากประสบการณ์ พรสวรรค์หรือสัญชาตญาณของแต่ละบุคคลในการทำความเข้าใจในสิ่งต่างๆ
- ความรู้ที่ชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) เป็นความรู้ที่สามารถรวบรวม ถ่ายทอดได้ โดยผ่านวิธีต่างๆวิธีการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้KM ไม่ทำไม่รู้ เรียนลัดและต่อยอดโมเดลปลาทู“ โมเดลปลาทู” เป็นโมเดลอย่างง่าย ของ สคส. ที่เปรียบการจัดการความรู้ เหมือนกับปลาทูหนึ่งตัวที่มี ๓ ส่วน คือ
๑ . ส่วน “ หัวปลา” (Knowledge Vision- KV) หมายถึง ส่วนที่เป็นเป้าหมาย วิสัยทัศน์ หรือทิศทางของการจัดการความรู้ โดยก่อนที่จะทำจัดการความรู้ ต้องตอบให้ได้ว่า “ เราจะทำ KM ไปเพื่ออะไร ?” โดย “ หัวปลา” นี้จะต้องเป็นของ “ คุณกิจ” หรือ ผู้ดำเนินกิจกรรม KM ทั้งหมด โดยมี “ คุณเอื้อ” และ “ คุณอำนวย” คอยช่วยเหลือ
๒ . ส่วน “ ตัวปลา” (Knowledge Sharing-KS) เป็นส่วนของการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ซึ่งถือว่าเป็นส่วนสำคัญ ซึ่ง “ คุณอำนวย” จะมีบทบาทมากในการช่วยกระตุ้นให้ “ คุณกิจ” มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ความรู้ โดยเฉพาะความรู้ซ่อนเร้นที่มีอยู่ในตัว “ คุณกิจ” พร้อมอำนวยให้เกิดบรรยากาศในการเรียนรู้แบบเป็นทีม ให้เกิดการหมุนเวียนความรู้ ยกระดับความรู้ และเกิดนวัตกรรม
๓ . ส่วน “ หางปลา” (Knowledge Assets-KA) เป็นส่วนของ “ คลังความรู้” หรือ “ ขุมความรู้” ที่ได้จากการเก็บสะสม “ เกร็ดความรู้” ที่ได้จากกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ “ ตัวปลา” ซึ่งเราอาจเก็บส่วนของ “ หางปลา” นี้ด้วยวิธีต่างๆ เช่น ICT ซึ่งเป็นการสกัดความรู้ที่ซ่อนเร้นให้เป็นความรู้ที่เด่นชัด นำไปเผยแพร่และแลกเปลี่ยนหมุนเวียนใช้ พร้อมยกระดับต่อไปKnowledge Vision Knowledge Assets Knowledge Sharing KVKSKA ส่วนหัว ส่วนตามองว่ากำลังจะไปทางไหนต้องตอบได้ว่า “ ทำ KM ไปเพื่ออะไร”

กระบวนการจัดการความรู้
1. กำหนดสิ่งที่ต้องการเรียนรู้
2. แสวงหาความรู้
3. จัดเก็บ และศึกษาหาความรู้
4. การสร้างความรู้
5. การประมวลและกลั่นกรองความรู้
6. การถ่ายโอนและกลั่นกรองความรู้
7. การแบ่งความรู้การวิเคราะห์และสังเคราะห์ความรู้
7.1 การจับความรู้จากผู้เชี่ยวชาญ
7.2 การวิเคราะห์ความรู้ที่จับได้
7.3 การตรวจสอบความถูกต้องของความรู้
7.4 การสังเคราะห์ให้เหมาะสมกับการใช้งานCoP(Community of Practice)


ชุมชนนักปฏิบัติ
คือ ชุมชนที่มีการรวมตัวกัน หรือเชื่อมโยงกันอย่างไม่เป็นทางการ โดยมีลักษณะดังนี้
-ประสบปัญหาลักษณะเดียวกัน- มีความสนใจในเรื่องเดียวกัน ต้องการแลกเปลี่ยนประสบการณ์จากกันและกัน
-มีเป้าหมายร่วมกัน มีความมุ่งมั่นร่วมกัน ที่จะพัฒนาวิธีการทำงานได้ดีขึ้น
-วิธีปฏิบัติคล้ายกัน ใช้เครื่องมือ และภาษาเดียวกัน
-มีความเชื่อ และยึดถือคุณค่าเดียวกัน
-มีบทบาทในการสร้าง และใช้ความรู้
-มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากกันและกัน อาจจะพบกันด้วยตัวจริง หรือผ่านเทคโนโลยีฃ
-มีช่องทางเพื่อการไหลเวียนของความรู้ ทำให้ความรู้เข้าไปถึงผู้ที่ต้องการใช้ได้ง่าย
-มีความร่วมมือช่วยเหลือ เพื่อพัฒนาและเรียนรู้จากสมาชิกด้วยกันเอง
-มีปฏิสัมพันธ์ต่อเนื่อง มีวิธีการเพื่อเพิ่มความเข้มแข็งให้แก่สายในทางสังคมทำให้เพิ่มพูนความรู้ที่ลึกซึ้งขึ้นเรื่อยๆ ในระดับที่ง่ายที่สุด


ข้อควรระวังในการทำ KS
- ให้ share "เรื่องเล่า" ไม่ใช่ share "ความคิด"
- เป็น Storytelling ไม่ใช่ Problem-solving ไม่ใช่ Planning
- share แล้วต้อง Learn และ Learn แล้วต้อง Lead (นำ) ...นำสู่การกระทำ ...นำสู่ภาพที่ต้องการ"ทุกความสำเร็จในองค์กร ย่อมมาจากกลยุทธ์การวางแผน การปฏิบัติ และการจัดการอย่างมืออาชีพ"

การจัดการความรู้บทบาทใหม่ของการบริหารทรัพยากรมนุษย์
1. ผู้ดูแลทุนมนุษย์ ( Human Capital Steward )
2. ผู้ประสานสัมพันธ์ ( Knowledge Facilitator )
3. ผู้อำนวยความรู้ ( Relationship Bulder )
4. ผู้มีอาชีพที่เฉพาะ ( Raped Deployment Sepecidist )